กองอำนวยการ รพ.รร.จปร. ให้บริการงานทางธุรการในเรื่องการกำลังพล, ยุทธการและการข่าว, กิจการพลเรือนและงานงบประมาณ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่างๆ

แบบฟอร์มใบลา

ใบลากิจ
ใบลาป่วย
ใบขอยกเลิกวันลา
ใบลาคลอดบุตร
ใบลาพักผ่อนประจำปี
ใบลาติดตามคู่สมรส
ใบลาขออนุญาตไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ใบลาขออนุญาตอุปสมบท

คู่มือระเบียบงานสารบรรณกองทัพบก

E - Book คู่มือระเบียบงานสารบรรณกองทัพบก

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบปฏิบัติ เรื่อง : การจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ

วิธีปฏิบัติ : WP - HRD – 002
ระดับเอกสาร : ระเบียบปฏิบัติ
เรื่อง : การจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ
วันที่อนุมัติใช้ :
แก้ไขครั้งที่ : ……….วันที่ : …..……
หน่วยงาน : ทีมคณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
ผู้จัดทำ : คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ผู้อนุมัติ :พ.อ.………………….
( ธนา สุรารักษ์ )
1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีการจัดกำลังพลเข้าปฏิบัติภารกิจนอกเวลาราชการและวันหยุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขอบเขต
ควบคุมการจัดกำลังพลปฏิบัติงานใน/นอกเวลาราชการ และวันหยุดราชการของทุกหน่วยงานภายใน รพ.รร.จปร.
3. ผู้รับผิดชอบ
หน. หน่วย นขต.รพ.รร.จปร. ทุกหน่วยงานที่จัดกำลังพลปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาราชการรวมทั้งวันหยุดราชการ
4. คำนิยามศัพท์
4.1 นอกเวลาราชการ หมายถึง เวลาที่นอกเหนือจาก 0800-1200 และ 1300-1600 ในวันราชการ
4.2 วันหยุดราชการ หมายถึง วันเสาร์- อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งวันที่ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ
4.3 เวร 8 ชม. หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่แบ่งออกเป็นผลัดๆ ใน 1 วัน แบ่งเป็น 3 ผลัด ดังนี้
4.3.1 ผลัดที่ 1 เวลา 0800-1600
4.3.2 ผลัดที่ 2 เวลา 1600-2400
4.3.3 ผลัดที่ 3 เวลา 2400-0800
4.4 เวร 24 ชม. หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่เวร ตั้งแต่เวลา 08.00-08.00 ของวันต่อไป
4.5 การปฏิบัติหน้าที่เวร หมายถึง การจัดกำลังพลเข้าปฏิบัติหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์กับผู้รับบริการตามภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยภายใน รพ.รร.จปร.
4.6 การผ่านเวร หมายถึง การให้กำลังพลที่มีชื่อเข้าเวร ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่เวร
4.7 การเปลี่ยนเวร หมายถึง การให้กำลังพลอื่นปฏิบัติหน้าที่เวรแทน
4.8 เหตุสุดวิสัยหรือกรณีเร่งด่วน หมายถึง เหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว เช่น
4.8.1 การเดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง ,รถไฟ หรือเครื่องบิน มีเหตุให้หยุดการเดินรถ หรือการให้บริการ และไม่สามารถเดินทางด้วยรถส่วนตัว หรือรถสาธารณะอื่นๆ ต่อไปได้
4.8.2 เกิดเจ็บป่วยจนต้องเข้านอนพักในโรงพยาบาล
4.8.3 ประสพภัยธรรมชาติจนไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้
5. วิธีปฏิบัติ
5.1 การจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่และสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้รับบริการให้เป็นไปตามภาระงานของแต่ละหน่วยงาน ตามความจำเป็น รายละเอียดการปฏิบัติ ให้หน่วยรับผิดชอบกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีปฏิบัติงานและอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถให้บริการผู้รับบริการตามพันธกิจของ รพ.รร.จปร. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ให้หน่วยรับผิดชอบการจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ ส่งรายชื่อกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ ประจำเดือน ให้คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล (ฝธก.รพ.รร.จปร.) ทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน เพื่อออกเป็นคำสั่งให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่เวรในภาพรวมของหน่วย โดยให้หน่วยจัดทำเป็นผนวก เพื่อประกอบคำสั่ง ดังนี้
5.2.1 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลประจำห้องฉุกเฉิน ผนวก ก
5.2.2 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลแผนกพยาบาล ผนวก ข
5.2.3 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลกองตรวจโรคผู้ป่วยนอก ผนวก ค
5.2.4 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลากองทันตกรรม ผนวก ง
5.2.5 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกกายภาพบำบัด ผนวก จ
5.2.6 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกเภสัชกรรม ผนวก ฉ
5.2.7 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกรังสีกรรม ผนวก ช
5.2.8 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกพยาธิวิทยา ผนวก ซ
5.2.9 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกเวชระเบียนและเก็บเงินรายรับ ผนวก ฌ
5.2.10 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาพลขับ ผนวก ญ
5.2.11 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกสูทกรรม ผนวก ฎ
5.2.12 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกซักรีด ผนวก ฏ
5.2.13 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาช่างซ่อมทั่วไป ผนวก ฐ
5.2.14 กำลังพลปฏิบัติหน้าที่นายทหารเวรดูแลผู้ป่วย ผนวก ฒ
5.2.15 กำลังพลปฏิบัติหน้าที่สิบเวรหมวดพลเสนารักษ์เพื่อดูแลผู้ป่วย ผนวก ณ
5.2.16 เจ้าหน้าที่เวรศูนย์ข้อมูลสารสนเทศบริการสาธารณสุข ผนวก ด
5.3 ให้หน่วยรับผิดชอบการจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 5.2.1 – 5.2.16 จัดทำวิธีการปฏิบัติงาน (WI)รวมทั้งหน้าที่ของกำลังพลที่ปฏิบัติงาน ( Job Description ) แต่ละหน้าที่และอื่นๆ ให้ครอบคลุม ภาระงานของแต่ละหน่วยให้สามารถบริการทางการแพทย์กับผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.4 กำลังพลที่มีรายชื่อปฏิบัติงานตาม ผนวก ก .ถึง ผนวก ด. จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยตามวันเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้จะต้องรายงานแลกเปลี่ยนเวรให้ หน. หน่วยรับผิดชอบการจัดเวรนั้นทราบ เพื่อให้มีกำลังพลอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนการแลกเวร ปฏิบัติตามข้อ 5.7 กำลังพลขาดเวรให้หัวหน้าหน่วยหรือหัวหน้าเวรดำเนินการเรียกเวรอะไหล่หรือกำลังพลที่จะออกเวรให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ แล้วรายงานเหตุการณ์ให้หัวหน้าหน่วยหรือผู้อำนวยการโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาการลงทัณฑ์ต่อไป ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์การพิจารณาดำเนินการกับกำลังพลที่ขาดเวรตามอนุผนวก 1
5.5 การทดแทนเวร ให้หน่วยรับผิดชอบจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ จัดกำลังพลเวรอะไหล่ไว้อย่างน้อย3 คน หากมีกำลังพลขาดเวรหรือไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ให้เรียกเวรอะไหล่มาปฏิบัติหน้าที่แทนในระหว่างที่เวรอะไหล่ยังไม่มารับหน้าที่ ให้เวรผลัดก่อนอยู่ปฏิบัติงานไปก่อนจนกว่าเวรอะไหล่จะมาปฏิบัติหน้าที่
5.6 การผ่านเวร ในกรณีต่อไปนี้สามารถให้ผ่านเวร คือ
5.6.1 จะต้องมีเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนหรือเกิดภัยธรรมชาติทำให้ไม่สามารถเดินทางมารับเวรได้
5.6.2 เจ็บป่วย มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักผ่อนในวันที่เข้าเวร
5.6.3 เจ็บป่วยหนัก จนต้องเข้านอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล
5.7 การแลกเปลี่ยนเวร กำลังพลที่มีรายชื่อปฏิบัติหน้าที่หากมีความจำเป็นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ทำการแลกเปลี่ยนเวร ดังนี้
ในกรณีปกติ
5.7.1 การแลกเปลี่ยนเวรจะต้องทำการแลกเปลี่ยนเวรในระดับกลุ่มเดียวกัน
5.7.2 จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเวรเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแบบฟอร์มการแลกเวรใน อนุผนวก 2
5.7.3 ผู้แลกเวรเป็นผู้รับผิดชอบในการหาผู้รับเวรแทนและเสนอใบแลกเวร จนถึงผู้มี อำนาจอนุมัติ รวมถึงการแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
5.7.4 การเสนอใบอนุมัติแลกเปลี่ยนเวร จะต้องเสนอก่อนวันแลกเปลี่ยนเวรอย่างน้อย 2 วันทำการ
ผ่านหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบการจัดเวรในหน้าที่นั้นๆ ก่อนเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามอนุมัติ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติแล้วจึงจะถือว่ามีการแลกเปลี่ยนเวรกันได้โดยบริบูรณ์
5.7.5 อำนาจในการอนุมัติให้มีการแลกเปลี่ยนเวร
5.7.5.1 งานรักษาพยาบาลให้หัวหน้าแผนกพยาบาล รร.จปร. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้มีการแทนเวร
5.7.5.2 งานสนับสนุนการรักษาพยาบาล ให้ ผช.ผอ.รพ.รร.จปร. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
ในกรณีเร่งด่วน
5.7.6 การแลกเปลี่ยนเวรในกรณีเร่งด่วน กำลังพลมีเหตุสุดวิสัยต้องการแลกเปลี่ยนเวร ให้กำลังพลอื่นเข้าเวรแทนให้เขียนใบแทนเวรเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวรหรือหัวหน้าสถานที่เข้าเวรเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแล้วเสนอใบแทนเวรให้ผู้มีอำนาจอนุมัติทำการอนุมัติในภายหลัง ทั้งนี้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวรหรือหัวหน้าสถานที่เข้าเวรจะต้องประสานให้ผู้มีอำนาจอนุมัติทราบในขั้นต้นก่อน ด้วยวาจา ทางการสื่อสารด้วยเครื่องมือสื่อสาร
5.7.7 เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเวรมีผลโดยสมบูรณ์ การปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ของเวร เป็นความรับผิดชอบของผู้รับแทนเวร
5.7.8 การแลกเวร ต้องมีการระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้แลกและผู้รับแลกเวรให้ชัดเจน เพื่อพิจารณาเมื่อเกิดความเสียหายหรือมีเหตุการณ์ข้อบกพร่อง
5.8 ค่าตอบแทนเวรเป็นไปตามระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนของหน่วยที่ได้รับอนุมัติจาก ผอ.รพ.รร.จปร. และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลแล้ว
5.9 การแต่งกาย ให้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดกำลังพลเข้าเวรฯ กำหนดการแต่งกายของผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมตามภาระงานของแต่ละหน่วย
5.10 การรับ-ส่ง หน้าที่เวรฯ ผู้รับเวรจะต้องมาถึงสถานที่ปฏิบัติงานก่อนเวลารับเวรอย่างน้อย ๑๐ นาที เพื่อเตรียมการและให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่การ รับ – ส่ง หน้าที่ จะต้องมีการตรวจรับ ผู้ป่วย และ/หรือ สิ่งอุปกรณ์ ในความรับผิดชอบทุกครั้ง สำหรับนายทหารเวรดูแลผู้ป่วย การรับ-ส่งเวรฯ ให้ไปรับฟังคำชี้แจงจากนายทหารเวรผู้ใหญ่ของ รร.จปร. ก่อน การรับ- ส่งเวรฯ แล้วต้องเขียนรายงานการรับฟังคำชี้แจงในบันทึกเหตุการณ์ทุกวัน
5.11 การรายงาน
5.11.1 การรายงาน ให้รายงานเหตุการณ์ตามภารกิจของแต่ละหน่วย ให้ หน. หน่วยทราบ แล้วให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ดังนี้
5.11. 1.1 งานรักษาพยาบาล รายงานให้ หน. แผนกพยาบาลทราบ
5.11.1.2 งานสนับสนุนการรักษาพยาบาล รายงานให้ ผช.ผอ.รพ.รร.จปร. ทราบ
5.11.2 การรายงานกรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติ ให้รายงานเหตุการณ์ให้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวร และ ผอ.รพ.รร.จปร. ทราบ ด้วยเครื่องมือสื่อสารที่เร็วที่สุดแล้วเขียนรายงานเหตุการณ์ ในรายงานประจำวันโดยใช้ระเบียบ / ข้อปฏิบัติในการรายงานด่วน ของ ทบ. โดยอนุโลม
6. ตัวชี้วัด
- นขต.รพ.รร.จปร. ทุกหน่วยสามารถปฏิบัติตามระเบียบการจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ ได้อย่างถูกต้อง 100 %
- อัตราข้อร้องเรียนของ นขต.รพ.รร.จปร. ของการจัดอัตรากำลังพลในการปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการ และวันหยุดราชการ น้อยกว่า 5%
7. เอกสารอ้างอิง
7.1 พ.ร.บ. วินัยทหาร พ.ศ.2476
7.2 คำสั่ง รพ.รร.จปร. ที่ 253/2553 ลง 14 มิ.ย.53 เรื่อง การปฏิบัติงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการบริการ และสนับสนุนการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ
8. ภาคผนวก
8.1 ภาคผนวก 1 เกณฑ์การพิจารณาดำเนินการกับกำลังพลที่ขาดเวร คลิกหน้าที่ 1 , 2
8.2 ภาคผนวก 2 แบบฟอร์มการแลกเปลี่ยนเวร ( FR-HRD-007)คลิก

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบปฏิบัติ เรื่อง : การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว รพ.รร.จปร.

วิธีปฏิบัติ : WP - HRD – 001
ระดับเอกสาร : ระเบียบปฏิบัติ
เรื่อง : การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว
วันที่อนุมัติใช้ : พ.ย.53
แก้ไขครั้งที่ : ……….วันที่ : …..……
หน่วยงาน : ทีมคณะกรรมการบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
ผู้จัดทำ : คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ผู้อนุมัติ : พ.อ.……………………….
( ธนา สุรารักษ์ )
1. วัตถุประสงค์
ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการสรรหา คัดเลือก และการบรรจุ
ลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรจุบุคลากรได้ตาม วัตถุประสงค์ เพียงพอ มีการพัฒนาศักยภาพ อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติงานในองค์กรอย่างมีความสุข
2. ขอบข่าย
ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้ ครอบคลุมการสรรหา คัดเลือก และบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
3. คำนิยามศัพท์
3.1 การสรรหา หมายถึง กิจกรรมและหรือการปฏิบัติซึ่งกำหนดลักษณะที่ต้องการของผู้สมัคร สำหรับลักษณะงานหนึ่งงานใดที่หน่วยงานมีความประสงค์และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สรรหาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
3.2 การคัดเลือก หมายถึง กระบวนการพิจารณาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติและลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกิจกรรมจัดหาบุคลากรเพื่อเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิจารณาผู้สมัครที่มีความเหมาะสมอย่างที่สุดต่อความต้องการของหน่วยงาน ซึ่งกระทำกับผู้สมัครและหรือบุคคลที่โรงพยาบาลเห็นสมควรที่จะให้เข้าเป็นผู้สมัครเข้าคัดเลือกโดยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ
3.3 การบรรจุ หมายถึง ให้เข้าประจำตำแหน่งที่กำหนด
4. เอกสารอ้างอิง
4.1 ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2542
4.2 คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 797/28 ลง 16 ก.ย. 28 เรื่อง ลูกจ้างชั่วคราว
5. ความรับผิดชอบ
5.1 ฝ่ายบริหารโรงพยาบาล มีหน้าที่ ดังนี้
5.1.1 กำหนดนโยบายในการสรรหาคัดเลือกและการบรรจุบุคลากร
5.1.2 พิจารณาอนุมัติตำแหน่งและอนุมัติให้บรรจุบุคลากรที่ผ่านการคัดเลือก
5.2 คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ให้ข้อมูลข้อเสนอแนะ และร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาคัดเลือกบรรจุบุคลากรใหม่
5.3 หัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่ดังนี้
5.3.1 เสนอความต้องการบุคลากรที่หน่วยขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจของหน่วย
5.3.2 ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ และทักษะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
5.3.3 ดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่
5.3.4 จัดทำแผนการฝึกปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่
5.3.5 ดำเนินการสอนงานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่
5.3.6 ทำการประเมินผลบุคลากรใหม่เมื่อปฏิบัติงานครบ 3 เดือน
5.3.7 จัดทำแฟ้มบุคลากร ทำการประเมินผลบุคลากรใหม่เมื่อทดลองงานครบ ๓ เดือน
5.4 คณะกรรมการคัดเลือก มีหน้าที่จัดเตรียมข้อสอบ ดำเนินการทดสอบและรายงานผลการทดสอบ
5.5 ฝ่ายกำลังพล มีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหาร การรับสมัคร ทำข้อมูลประวัติบุคลากร ทำสัญญาจ้าง รายงาน รร.จปร. ออกคำสั่งจ้าง และอื่นๆ
5.6 องค์กรแพทย์ องค์กรพยาบาล และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหน่วยงานในการดำเนินการฝึกอบรมในงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ และหรือตามมาตรฐานที่กำหนด
6. วิธีปฏิบัติ
6.1 การสรรหา คัดเลือกและการบรรจุบุคลากรใหม่ ดำเนินการ ดังนี้
6.1.1 การเสนอความต้องการ ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอความต้องการบุคลากรใหม่ โดยกำหนดคุณสมบัติตามที่ต้องการตามแบบฟอร์ม การเสนอความต้องการลูกจ้างชั่วคราว (FR-HRD-001) พร้อมกับแนบหน้าที่รับผิดชอบ (Job Description ) เสนอตามสายการบังคับบัญชาผ่านกองบังคับการ เสนอให้คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทราบ และให้ ผอ.รพ.รร.จปร. อนุมัติ
6.1.2 การรับสมัคร ฝ่ายกำลังพลจะเสนอร่างประกาศรับสมัครให้ ผอ.รพ.ฯ ลงนาม แล้วดำเนินการปิดประกาศและรับสมัคร จัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการรับสมัคร หลักฐานที่ใช้ในการสมัครตามที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัคร แล้วส่งข้อมูลให้คณะกรรมการคัดเลือก
6.1.3 การคัดเลือก ฝ่ายกำลังพลเสนอให้ ผอ.รพ.ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก อย่างน้อย 3 คน เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 คน เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้วคณะกรรมการคัดเลือกจะดำเนินการออกข้อสอบ ดำเนินการคัดเลือกโดยวัดความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และบุคลิกภาพ นำเสนอผลการคัดเลือกให้ ผอ.รพ.ฯ อนุมัติ ประกาศผลการทดสอบ
6.1.4 การตรวจร่างกาย ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น โดย ฝกพ.รพ.รร.จปร. ส่งรายชื่อให้กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.รร.จปร. ดำเนินการตามแบบฟอร์มการส่งบุคลากรใหม่เข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น (FR-HRD-002) ซึ่งกองตรวจโรคผู้ป่วยนอกจะต้องตรวจสภาวะสุขภาพบุคลากรใหม่ ดังนี้
6.1.4.1 ตรวจเอ็กซเรย์ปอด เพื่อคัดกรองวัณโรคปอด
6.1.4.2 ตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HbsAg , Hbs Ab และ Hbc Ab เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
6.1.4.3 ตรวจหา Anti HIV
ค่าใช้จ่ายในการตรวจ ตามข้อ 6.1.4.1 -6.1.4.3 ให้เก็บจากผู้เข้ารับการตรวจ

6.1.4.4 ผลการตรวจร่างกายพบว่า Hbs Ag positives ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจร่างกายและหากไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ต้องทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี จำนวน 3 เข็ม ๆละ 180 บาท รวม 540 บาท ให้ฝ่ายการเงินดำเนินการหักเงินค่าวัคซีนจากค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่ฉีดภูมิคุ้มกันและให้พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ รับผิดชอบกำหนดวัน และดำเนินการฉีดวัคซีนตามกำหนด จนกว่าจะครบ Course (๐ , ๑ , ๖ เดือน)
6.1.4.5 หากพบว่าผลเอ็กซเรย์ปอดผิดปกติ เป็นวัณโรคปอดและภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง (HIV) ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจร่างกายและแจ้งผลให้ทราบเพื่อให้ดำเนินการรักษาตามสิทธิต่อไป
6.1.4.6 ผลการตรวจร่างกาย ให้ส่งผลการตรวจร่างกายของบุคลากรใหม่ให้คณะกรรมการควบคุมโรคติดเชื้อ และ แผนกสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรของหน่วยต่อไป
6.1.5 การทำสัญญาจ้าง ผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายแล้วจะนัดวันทำสัญญาจ้างโดยดำเนินการดังนี้
6.1.5.1 ทำสัญญาจ้าง ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-003)
6.1.5.2 ทำสัญญาค้ำประกัน ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-004) ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือข้าราชการระดับ ซี 3 ขึ้นไป พร้อมเงินค้ำประกันเท่ากับเงินเดือนหรือตามที่ฝ่ายบริหารกำหนด
6.1.5.3 จัดทำประวัติบุคคล ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-005)
6.1.6 การปฐมนิเทศ คณะกรรมการบริหารพัฒนาทรัพยากรบุคคล จะดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่เป็นส่วนรวมก่อน เนื้อหาในการปฐมนิเทศจะประกอบด้วย การปฏิบัติโดยทั่วไป โครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา สิทธิต่างๆ และระบบการสื่อสารภายในองค์กร เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะส่งตัวให้หน่วยงานซึ่งหน่วยจะต้องดำเนินการปฐมนิเทศในเรื่องการปฏิบัติและสอนงานในหน้าที่
6.1.7 การทดลองงานและการประเมินผล หน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการฝึกปฏิบัติและกำหนดให้มีพี่เลี้ยงสอนงานให้กับบุคลากรใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทดลองปฏิบัติงานงาน 3 เดือน แล้วทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแบบฟอร์ม การประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-006) หรือแบบประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-007) รายงานผลตามสายการบังคับบัญชาถึงคณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล หากไม่ผ่านการประเมินจะให้ฝึกปฏิบัติงานต่อเพิ่มอีก 2 เดือน เกณฑ์ผ่านการประเมินของบุคลากรใหม่ 60 % ผู้ไม่ผ่านการประเมินให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำแผนการพัฒนาและประเมินผลใหม่ภายใน 2 เดือน หากไม่ผ่านเกณฑ์ 60 % ให้เลิกจ้างฯ หากหน่วยมีความจำเป็นต้องการบุคลากรปฏิบัติงานทดแทนให้เสนอความต้องการบุคลากรใหม่ตามวงรอบการปฏิบัติต่อไป
7. ดัชนีชี้วัด
7.1 หน่วยสามารถบรรจุกำลังพลลูกจ้างชั่วคราวตรงตามความต้องการของหน่วย 100%
7.2 บุคลากรใหม่ของหน่วยได้รับการปฐมนิเทศ , ผ่าน การฝึกปฏิบัติงานและได้รับผลการทดลองปฏิบัติงาน 100%
8. ภาคผนวก
8.1 ขั้นตอนการสรรหาคัดเลือกและบรรจุลูกจ้างชั่วคราว
คลิก
8.2 แบบฟอร์ม การเสนอความต้องการลูกจ้างชั่วคราว (FR-HRD-001) คลิก
8.3 แบบฟอร์ม การส่งบุคลากรใหม่เข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น
(FR-HRD-002) คลิก
8.4 แบบฟอร์ม สัญญาจ้าง (FR-HRD-003) คลิก
8.5 แบบฟอร์ม สัญญาค้ำประกัน (FR-HRD-004) คลิก
8.6 แบบฟอร์ม ประวัติบุคคล (FR-HRD-005) คลิกหน้าที่1 , 2 , 3 , 4
8.7 แบบฟอร์ม การประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-006) คลิก
8.8 หัวข้อการประเมินเจ้าหน้าที่ คลิกหน้า1 , 2 , 3

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานเดิน-วิ่ง เขาชะโงกซูเปอร์ฮาล์ฟมาราธอน 53

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 ตั้งแต่เวลา 0400
สรุปผลการดำเนินงานสนับสนุนการแข่งขันเดิน - วิ่งฯ ปี 53
๑. ตามที่ รพ.รร.จปร.จัดการประชุมสรุปผลการให้บริการทางการแพทย์งานแข่งขันเดิน – วิ่งเขาชะโงกซูเปอร์ฮาล์ฟมาราธอน ประจำปี ๒๕๕๓ เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๓ เวลา ๑๓๓๐ ณ ห้องประชุม รพ.รร.จปร. (ชั้น ๒ เก่า) สรุปผลการประชุมดังนี้
๑.๑ ประธานการประชุม พ.อ.ณัฐนนท์ ภุคุกะ รอง ผอ.รพ.รร.จปร.
๑.๒ ผู้เข้าร่วมประชุม กำลังพลนายทหารสัญญาบัตร, นายทหารประทวนและลูกจ้างรพ.รร.จปร. จำนวน ๔๘ นาย
๑.๓ การจัดดำเนินงานในวันที่ ๖ พ.ย.๕๓ มีกิจกรรมที่หน่วยร่วมรับผิดชอบ ดังนี้
๑.๓.๑ กิจกรรมที่หน่วยจัดกำลังพลรับผิดชอบ ดังนี้
๑.๓.๑.๑ จัดชุดปฐมพยาบาลประจำกองอำนวยการจัดการแข่งขัน จำนวน ๒ นาย
๑.๓.๑.๒ จัดชุดพยาบาลประจำการแข่งขันรักบี้ฟุตบอล ๙ นาย ประกอบด้วยพยาบาล ๑ นาย นายสิบพยาบาล ๑ นาย , พลเปล ๖ นาย พลขับและรถพยาบาล ๑ คัน
๑.๓.๑.๓ จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการฝังเข็ม
๑.๓.๑.๔ จัดเจ้าหน้าที่นวดแผนไทย ให้บริการนวดแผนไทย
๑.๓.๑.๕ กำลังพลแผนกสร้างเสริมสุขภาพ รับผิดชอบการจัดการแข่งขันจักรยานครอบครัว, กิจกรรมการต่อสู้ป้องกันตัวในลานเวที
๑.๓.๑.๖ จัดกำลังพลรับผิดชอบ รถไฟท่องเที่ยว จัดพลทหาร คันละ ๒ นาย
๑.๓.๒ สรุปผลการดำเนินการและปัญหาข้อขัดข้อง ดังนี้
๑.๓.๒.๑ ชุดปฐมพยาบาลประจำ กอ.จัดงาน เปิดให้บริการห้วง ๐๘๐๐ – ๒๓๐๐ มีผู้รับบริการรวม ๖๓ ราย (วัดความดัน ๕๒ ราย,จ่ายยา ๘ ราย, ทำแผล ๓ ราย ปัญหาข้อขัดข้อง ในห้วงเวลาแรกไม่มีการจัดโต๊ะไว้ให้ แนวทางการปฏิบัติในปีต่อไป ให้จัดนายทหารอำนวยการในภาพรวมเพื่อช่วยประสานงานและแก้ปัญหาการปฏิบัติเฉพาะแต่ละภารกิจ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุภารกิจ
๑.๓.๒.๒ การเปิดให้บริการฝังเข็ม มีผู้บริการ ๗ ราย รายได้๑,๘๒๐ บาท ปัญหาข้อขัดข้อง ไม่มี ข้อเสนอแนะ (พ.อ.ยรรยงค์ ฯ) เนื่องจากการเปิดบริการไม่คุ้มค่า ในปีต่อไปควรงด
ประธาน ควรจัดเป็นในลักษณะการให้ความรู้เป็นวีดีโอ หรือแผ่นพับให้ผู้สนใจ เพื่อไปเข้ารับบริการในโรงพยาบาล
๑.๓.๒.๓ ชุดพยาบาลประจำการแข่งขันกีฬารักบี้ฟุตบอล ให้บริการผู้ป่วย รวม ๔๐ ราย มีผู้ป่วยจำนวนมาก
ปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะ
- ควรจัดนายสิบพยาบาล ควรจัดเพิ่มขึ้นหรือจัดผู้ที่มีทักษะและความรู้ความสามารถในการปฐมพยาบาล
- นายสิบพยาบาลและพลเปล ขาดทักษะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ตั้งแต่การจัดผู้ป่วยขึ้นนอนบนเปล การเข้าหาผู้ป่วย ควรให้แผนกพยาบาลให้ความรู้เพิ่มกับนายสิบพยาบาลและก่อนการปฏิบัติงานควรให้นายสิบพยาบาลทำการซักซ้อมการปฏิบัติกับพลเปล เพื่อให้สามารถทำการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง
- การติดต่อสื่อสาร ควรจัดวิทยุสื่อสารให้กับชุดพยาบาลเพื่อให้สามารถติดต่อกับห้องฉุกเฉิน เตรียมรับผู้ป่วยหรือขอรับการสนับสนุน สป. รวมทั้งผู้อำนวยการทางการพยาบาลประจำพื้นที่ทราบและสามารถบริหารคนและทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า
๑.๓.๒.๔ การบริการนวดแผนไทย ยอดผู้รับบริการทั้งสิ้น ๑๗๗ ราย รายได้ ๘,๑๖๕ บาท ปัญหาข้อขัดข้อง ไม่มี
ประธาน นวดแผนไทย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและมีผู้รับบริการเพิ่มขึ้นทุกปี ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำการจัดการแข่งขันแล้ว
ข้อเสนอแนะ ควรจัดสถานที่ให้มีความมิดชิดมากขึ้น
๑.๓.๒.๕ กิจกรรมของแผนกสร้างเสริมสุขภาพ(แยกสรุป) พบปัญหาข้อขัดข้อง คือ ไม่มีการจัดเจ้าหน้าที่ต้อนรับเจ้าหน้าที่จาก สสส.ที่มาร่วมงาน
๑.๓.๒.๖ กิจกรรมรถไฟท่องเที่ยว กำลังพลที่ช่วยประจำรถ ๒ นาย/คัน ไม่มีอาหารสนับสนุน ควรมีการประสานขอรับการสนับสนุนอาหารกล่องด้วย
๑.๔ การจัดกิจกรรมวันที่ ๗ พ.ย.๕๓ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
๑.๔.๑ การดำเนินการในส่วนของ กอ. ประจำ รพ.รร.จปร. มีการปฏิบัติและสรุปยอดการปฏิบัติ ปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑.๔.๑.๑ การจัดอาหารและเครื่องดื่มสนับสนุน สูทกรรม รพ.รร.จปร.จัดเครื่องดื่มและอาหารกล่องเตรียมแจกจ่ายพร้อมตั้งแต่เวลา ๐๓๓๐ จัดอาหารกล่องจำนวน ๑๓๐ กล่อง การจัดอาหารได้มีการตรวจและระบุชุดที่แน่นอน ทำให้สามารถแจกจ่ายอาหารได้รวดเร็วและถูกต้อง ปัญหาข้อขัดข้อง/ข้อเสนอแนะ ไม่มี ที่ประชุมยกย่องเจ้าหน้าที่สูทกรรมทุกคนสามารถบริการได้ดี ขอให้รักษามาตรฐานนี้ในปีต่อไป
๑.๔.๑.๒ การจัดน้ำดื่ม, น้ำแข็ง , น้ำหวานและออกซิเจน รายละเอียดดังนี้
- แก้วน้ำ จัดหา ๑๓,๐๐๐ ใบ ใช้ไป ๑๑,๑๓๘ ใบ เหลือ ๑,๘๖๒ ใบ
- น้ำดื่ม จัดหา ๖๐ ถัง เหลือบางส่วนได้มอบให้ มว.พล.ฯไว้ดื่ม
- น้ำหวาน จัดหา ๖๐ ขวด ใช้ไป ๕๗ ขวด เหลือ ๓ ขวด
- น้ำแข็ง จัดหา ๘๐๐ กก. หมด
- ออกซิเจน จัดหา ๔ ถัง
๑.๔.๑.๓ การสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ และอื่นๆ ดังนี้
- ยาและเวชภัณฑ์ จำนวน ๒๗ รายการ เป็นเงิน ๑๐,๐๔๗.๓๗ บาท
- ผ้าเช็ดตัว จำนวน ๑,๐๐๐ บาท
การจัดเตรียมน้ำดื่ม,น้ำแข็ง,น้ำหวาน,ยาและเวชภัณฑ์ สามารถจัดเตรียมไว้เป็นกลุ่มตามหน่วยปฏิบัติงาน พร้อมก่อน ๐๔๐๐ ทำให้ชุดปฏิบัติงานตามจุดต่างๆ ได้รับ สป.ประจำชุดได้ครบถ้วนและสามารถออกปฏิบัติงานได้โดยรวดเร็ว
๑.๔.๑.๔ การปฏิบัติงานรถพยาบาล ๐๑ ประจำ ณ เรือนรับรอง การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในปีต่อไปขอรับการเพิ่มชุดทำแผล เพิ่มจาก ๑ ชุด เป็น ๕ ชุด
๑.๔.๑.๕ การปฏิบัติงานรถพยาบาล ๐๒ ประจำ ณ แปลงสาธิตเกษตร และหน้า รร.กส.กส.ทบ. ปัญหาข้อขัดข้อง ไม่มี ขอรับชุดทำแผลเพิ่มเช่นเดียวกับ รถพยาบาล ๐๑
๑.๔.๑.๖ รถพยาบาล ๐๓ มีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสาร
๑.๔.๑.๗ รถพยาบาล ๐๔ มีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสาร
๑.๔.๑.๘ รถพยาบาล ๐๕ มีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสารและขอรับการสนับสนุนน้ำดื่มเพิ่มและขอสนับสนุนโต๊ะวางน้ำ
๑.๔.๑.๙ รถพยาบาล ๐๖ ไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง
๑.๔.๑.๑๐ รถพยาบาล ๐๗ ไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง การขอรับการสนับสนุนได้รับการสนับสนุนตามที่ขอ
๑.๔.๑.๑๑ รถพยาบาล ๐๘ ออกรับผู้ป่วยแต่ไม่พบ เนื่องจากผู้ป่วยขึ้นรถตำรวจก่อนไปถึง ควรมีการทบทวนในเรื่องการแบ่งความ รับผิดชอบในการรับผู้ป่วย
๑.๔.๑.๑๒ รถพยาบาล ๐๙ มีปัญหาการติดต่อสื่อสาร จนท.รร.ตท.ใหม่ทั้งหมด ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ และไม่เห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารกัน ข้อเสนอแนะ กอ.ควรจัดกำลังพลของหน่วยร่วมปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง
๑.๔.๑.๑๓ รถพยาบาล ๘๘๘ ไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง
๑.๔.๑.๑๔ รถโมบายจักรยานยนต์ ๓ ชุด ไม่มีปัญหาข้อขัดข้อง
๑.๔.๑.๑๕ การดำเนินการของ กอ.ประจำ รพ.รร.จปร. พบปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนวทางแก้ไข ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ประจำรถของรพ.อื่นๆ ที่มาสนับสนุนผู้ที่เข้าร่วมประชุมเตรียมการไม่มาปฏิบัติงานผู้มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ แนวทางแก้ไขคือ ควรประสานเพื่อให้ทราบผู้มาปฏิบัติงานที่แน่นอนพร้อมเบอร์โทรศัพท์ เพื่อติดต่อประสานการปฏิบัติ กรณีรถพยาบาลมาถึงล่าช้า
- ปัญหาในการติดต่อสื่อสาร
(๑) ไม่สามารถติดต่อกับรถพยาบาล ๐๓, ๐๔, ๐๕ ได้ แนวทางแก้ไขคือ ให้รถพยาบาล ๐๖ ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ถึงกลางและที่สูงเป็นแม่เครือข่ายรอง จะทำให้สามารถสื่อสารได้โดยต่อเนื่อง
(๒) เจ้าหน้าที่สื่อสารประจำรถพยาบาล ไม่เฝ้าฟังวิทยุทำให้การติดต่อขาดเป็นตอน และทำให้ กอ. ไม่สามารถประสานการปฏิบัติได้โดยรวดเร็ว
(๓) รถพยาบาลแต่ละคันไม่ได้ตั้งเวลาให้ตรงกัน ทำให้เวลาที่นักวิ่งผ่านตามจุดต่างๆ ไม่เป็นเวลาเดียวกัน
- แนวทางแก้ไข ควรจัดประชุมชี้แจงผู้ที่ทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารประจำรถพยาบาลก่อนออกปฏิบัติภารกิจ มีการซักซ้อม และก่อนออกปฏิบัติงานควรได้มีการตั้งเวลาให้ตรงกัน
- ปัญหาข้อขัดข้องในภาพรวม มีนักวิ่งได้รับบาดเจ็บเข้ารับการรักษา ณ รถพยาบาล ๐๑ และ ๐๒ จำนวนหลายราย สาเหตุจากสภาพพื้นถนนและไฟส่องสว่างไม่เพียงพอทำให้นักวิ่งหกล้มและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
ประธาน ให้ข้อพิจารณาในปีต่อไป ควรประสานมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ ร่วมช่วยเหลือ ในการให้บริการผู้ป่วยในจุดที่ห่างไกล จะทำให้สามารถบริการทางการแพทย์ได้คลอบคลุม
๑.๕ การปฏิบัติงานของชุดแพทย์ประจำ ณ บก.รร.จปร.
๑.๕.๑ จุดเปิดให้บริการดังนี้
๑.๕.๑.๑ จุดให้บริการรักษาพยาบาล
๑.๕.๑.๒ จุดให้บริการนวดแผนไทย
๑.๕.๑.๓ จัดรถพยาบาลและชุดพยาบาลถวายความปลอดภัยขบวนเดินวิ่ง
๑.๕.๑.๔ รับผิดชอบการจัดการแข่งขันเดิน – วิ่ง ครอบครัว
๑.๕.๒ สรุปยอดการให้บริการ ดังนี้
๑.๕.๒.๑ จุดให้บริการรักษาพยาบาล จำนวน ๓๒๑ ราย
- วัดความดัน ๙๘ ราย
- ทำแผล ๒๑ ราย
- ทั่วไป ๒๐๒ ราย
๑.๕.๒.๒ จุดให้บริการนวดแผนไทย จำนวน ๒๑๘ ราย
๑.๕.๓ ปัญหาข้อขัดข้องและข้อเสนอแนะ
๑.๕.๓.๑ นักวิ่งบาดเจ็บจากการหกล้มเป็นจำนวนมาก สอบถามเกิดจากสภาพถนนและไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ
๑.๕.๓.๒ ควรจัดพลเปลเพิ่มจาก ๓ นาย เป็น ๔ นาย