กองอำนวยการ รพ.รร.จปร. ให้บริการงานทางธุรการในเรื่องการกำลังพล, ยุทธการและการข่าว, กิจการพลเรือนและงานงบประมาณ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่างๆ

แบบฟอร์มใบลา

ใบลากิจ
ใบลาป่วย
ใบขอยกเลิกวันลา
ใบลาคลอดบุตร
ใบลาพักผ่อนประจำปี
ใบลาติดตามคู่สมรส
ใบลาขออนุญาตไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ใบลาขออนุญาตอุปสมบท

คู่มือระเบียบงานสารบรรณกองทัพบก

E - Book คู่มือระเบียบงานสารบรรณกองทัพบก

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบปฏิบัติ เรื่อง : การจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ

วิธีปฏิบัติ : WP - HRD – 002
ระดับเอกสาร : ระเบียบปฏิบัติ
เรื่อง : การจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ
วันที่อนุมัติใช้ :
แก้ไขครั้งที่ : ……….วันที่ : …..……
หน่วยงาน : ทีมคณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
ผู้จัดทำ : คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ผู้อนุมัติ :พ.อ.………………….
( ธนา สุรารักษ์ )
1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีการจัดกำลังพลเข้าปฏิบัติภารกิจนอกเวลาราชการและวันหยุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขอบเขต
ควบคุมการจัดกำลังพลปฏิบัติงานใน/นอกเวลาราชการ และวันหยุดราชการของทุกหน่วยงานภายใน รพ.รร.จปร.
3. ผู้รับผิดชอบ
หน. หน่วย นขต.รพ.รร.จปร. ทุกหน่วยงานที่จัดกำลังพลปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาราชการรวมทั้งวันหยุดราชการ
4. คำนิยามศัพท์
4.1 นอกเวลาราชการ หมายถึง เวลาที่นอกเหนือจาก 0800-1200 และ 1300-1600 ในวันราชการ
4.2 วันหยุดราชการ หมายถึง วันเสาร์- อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งวันที่ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ
4.3 เวร 8 ชม. หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่แบ่งออกเป็นผลัดๆ ใน 1 วัน แบ่งเป็น 3 ผลัด ดังนี้
4.3.1 ผลัดที่ 1 เวลา 0800-1600
4.3.2 ผลัดที่ 2 เวลา 1600-2400
4.3.3 ผลัดที่ 3 เวลา 2400-0800
4.4 เวร 24 ชม. หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่เวร ตั้งแต่เวลา 08.00-08.00 ของวันต่อไป
4.5 การปฏิบัติหน้าที่เวร หมายถึง การจัดกำลังพลเข้าปฏิบัติหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์กับผู้รับบริการตามภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยภายใน รพ.รร.จปร.
4.6 การผ่านเวร หมายถึง การให้กำลังพลที่มีชื่อเข้าเวร ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่เวร
4.7 การเปลี่ยนเวร หมายถึง การให้กำลังพลอื่นปฏิบัติหน้าที่เวรแทน
4.8 เหตุสุดวิสัยหรือกรณีเร่งด่วน หมายถึง เหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรแล้ว เช่น
4.8.1 การเดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง ,รถไฟ หรือเครื่องบิน มีเหตุให้หยุดการเดินรถ หรือการให้บริการ และไม่สามารถเดินทางด้วยรถส่วนตัว หรือรถสาธารณะอื่นๆ ต่อไปได้
4.8.2 เกิดเจ็บป่วยจนต้องเข้านอนพักในโรงพยาบาล
4.8.3 ประสพภัยธรรมชาติจนไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้
5. วิธีปฏิบัติ
5.1 การจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่และสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้รับบริการให้เป็นไปตามภาระงานของแต่ละหน่วยงาน ตามความจำเป็น รายละเอียดการปฏิบัติ ให้หน่วยรับผิดชอบกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีปฏิบัติงานและอื่นๆ ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถให้บริการผู้รับบริการตามพันธกิจของ รพ.รร.จปร. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ให้หน่วยรับผิดชอบการจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ ส่งรายชื่อกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ ประจำเดือน ให้คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล (ฝธก.รพ.รร.จปร.) ทุกวันที่ ๒๕ ของเดือน เพื่อออกเป็นคำสั่งให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่เวรในภาพรวมของหน่วย โดยให้หน่วยจัดทำเป็นผนวก เพื่อประกอบคำสั่ง ดังนี้
5.2.1 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลประจำห้องฉุกเฉิน ผนวก ก
5.2.2 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลแผนกพยาบาล ผนวก ข
5.2.3 เจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลกองตรวจโรคผู้ป่วยนอก ผนวก ค
5.2.4 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลากองทันตกรรม ผนวก ง
5.2.5 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกกายภาพบำบัด ผนวก จ
5.2.6 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกเภสัชกรรม ผนวก ฉ
5.2.7 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกรังสีกรรม ผนวก ช
5.2.8 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกพยาธิวิทยา ผนวก ซ
5.2.9 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกเวชระเบียนและเก็บเงินรายรับ ผนวก ฌ
5.2.10 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาพลขับ ผนวก ญ
5.2.11 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกสูทกรรม ผนวก ฎ
5.2.12 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาแผนกซักรีด ผนวก ฏ
5.2.13 เจ้าหน้าที่เวรนอกเวลาช่างซ่อมทั่วไป ผนวก ฐ
5.2.14 กำลังพลปฏิบัติหน้าที่นายทหารเวรดูแลผู้ป่วย ผนวก ฒ
5.2.15 กำลังพลปฏิบัติหน้าที่สิบเวรหมวดพลเสนารักษ์เพื่อดูแลผู้ป่วย ผนวก ณ
5.2.16 เจ้าหน้าที่เวรศูนย์ข้อมูลสารสนเทศบริการสาธารณสุข ผนวก ด
5.3 ให้หน่วยรับผิดชอบการจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 5.2.1 – 5.2.16 จัดทำวิธีการปฏิบัติงาน (WI)รวมทั้งหน้าที่ของกำลังพลที่ปฏิบัติงาน ( Job Description ) แต่ละหน้าที่และอื่นๆ ให้ครอบคลุม ภาระงานของแต่ละหน่วยให้สามารถบริการทางการแพทย์กับผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.4 กำลังพลที่มีรายชื่อปฏิบัติงานตาม ผนวก ก .ถึง ผนวก ด. จะต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยตามวันเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้จะต้องรายงานแลกเปลี่ยนเวรให้ หน. หน่วยรับผิดชอบการจัดเวรนั้นทราบ เพื่อให้มีกำลังพลอื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทนการแลกเวร ปฏิบัติตามข้อ 5.7 กำลังพลขาดเวรให้หัวหน้าหน่วยหรือหัวหน้าเวรดำเนินการเรียกเวรอะไหล่หรือกำลังพลที่จะออกเวรให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ แล้วรายงานเหตุการณ์ให้หัวหน้าหน่วยหรือผู้อำนวยการโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาการลงทัณฑ์ต่อไป ให้ปฏิบัติตามเกณฑ์การพิจารณาดำเนินการกับกำลังพลที่ขาดเวรตามอนุผนวก 1
5.5 การทดแทนเวร ให้หน่วยรับผิดชอบจัดกำลังพลปฏิบัติหน้าที่ จัดกำลังพลเวรอะไหล่ไว้อย่างน้อย3 คน หากมีกำลังพลขาดเวรหรือไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ให้เรียกเวรอะไหล่มาปฏิบัติหน้าที่แทนในระหว่างที่เวรอะไหล่ยังไม่มารับหน้าที่ ให้เวรผลัดก่อนอยู่ปฏิบัติงานไปก่อนจนกว่าเวรอะไหล่จะมาปฏิบัติหน้าที่
5.6 การผ่านเวร ในกรณีต่อไปนี้สามารถให้ผ่านเวร คือ
5.6.1 จะต้องมีเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนหรือเกิดภัยธรรมชาติทำให้ไม่สามารถเดินทางมารับเวรได้
5.6.2 เจ็บป่วย มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักผ่อนในวันที่เข้าเวร
5.6.3 เจ็บป่วยหนัก จนต้องเข้านอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล
5.7 การแลกเปลี่ยนเวร กำลังพลที่มีรายชื่อปฏิบัติหน้าที่หากมีความจำเป็นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ทำการแลกเปลี่ยนเวร ดังนี้
ในกรณีปกติ
5.7.1 การแลกเปลี่ยนเวรจะต้องทำการแลกเปลี่ยนเวรในระดับกลุ่มเดียวกัน
5.7.2 จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเวรเป็นลายลักษณ์อักษร ตามแบบฟอร์มการแลกเวรใน อนุผนวก 2
5.7.3 ผู้แลกเวรเป็นผู้รับผิดชอบในการหาผู้รับเวรแทนและเสนอใบแลกเวร จนถึงผู้มี อำนาจอนุมัติ รวมถึงการแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
5.7.4 การเสนอใบอนุมัติแลกเปลี่ยนเวร จะต้องเสนอก่อนวันแลกเปลี่ยนเวรอย่างน้อย 2 วันทำการ
ผ่านหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบการจัดเวรในหน้าที่นั้นๆ ก่อนเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามอนุมัติ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติแล้วจึงจะถือว่ามีการแลกเปลี่ยนเวรกันได้โดยบริบูรณ์
5.7.5 อำนาจในการอนุมัติให้มีการแลกเปลี่ยนเวร
5.7.5.1 งานรักษาพยาบาลให้หัวหน้าแผนกพยาบาล รร.จปร. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้มีการแทนเวร
5.7.5.2 งานสนับสนุนการรักษาพยาบาล ให้ ผช.ผอ.รพ.รร.จปร. เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
ในกรณีเร่งด่วน
5.7.6 การแลกเปลี่ยนเวรในกรณีเร่งด่วน กำลังพลมีเหตุสุดวิสัยต้องการแลกเปลี่ยนเวร ให้กำลังพลอื่นเข้าเวรแทนให้เขียนใบแทนเวรเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวรหรือหัวหน้าสถานที่เข้าเวรเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแล้วเสนอใบแทนเวรให้ผู้มีอำนาจอนุมัติทำการอนุมัติในภายหลัง ทั้งนี้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวรหรือหัวหน้าสถานที่เข้าเวรจะต้องประสานให้ผู้มีอำนาจอนุมัติทราบในขั้นต้นก่อน ด้วยวาจา ทางการสื่อสารด้วยเครื่องมือสื่อสาร
5.7.7 เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเวรมีผลโดยสมบูรณ์ การปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ของเวร เป็นความรับผิดชอบของผู้รับแทนเวร
5.7.8 การแลกเวร ต้องมีการระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้แลกและผู้รับแลกเวรให้ชัดเจน เพื่อพิจารณาเมื่อเกิดความเสียหายหรือมีเหตุการณ์ข้อบกพร่อง
5.8 ค่าตอบแทนเวรเป็นไปตามระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนของหน่วยที่ได้รับอนุมัติจาก ผอ.รพ.รร.จปร. และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลแล้ว
5.9 การแต่งกาย ให้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดกำลังพลเข้าเวรฯ กำหนดการแต่งกายของผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมตามภาระงานของแต่ละหน่วย
5.10 การรับ-ส่ง หน้าที่เวรฯ ผู้รับเวรจะต้องมาถึงสถานที่ปฏิบัติงานก่อนเวลารับเวรอย่างน้อย ๑๐ นาที เพื่อเตรียมการและให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่การ รับ – ส่ง หน้าที่ จะต้องมีการตรวจรับ ผู้ป่วย และ/หรือ สิ่งอุปกรณ์ ในความรับผิดชอบทุกครั้ง สำหรับนายทหารเวรดูแลผู้ป่วย การรับ-ส่งเวรฯ ให้ไปรับฟังคำชี้แจงจากนายทหารเวรผู้ใหญ่ของ รร.จปร. ก่อน การรับ- ส่งเวรฯ แล้วต้องเขียนรายงานการรับฟังคำชี้แจงในบันทึกเหตุการณ์ทุกวัน
5.11 การรายงาน
5.11.1 การรายงาน ให้รายงานเหตุการณ์ตามภารกิจของแต่ละหน่วย ให้ หน. หน่วยทราบ แล้วให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ดังนี้
5.11. 1.1 งานรักษาพยาบาล รายงานให้ หน. แผนกพยาบาลทราบ
5.11.1.2 งานสนับสนุนการรักษาพยาบาล รายงานให้ ผช.ผอ.รพ.รร.จปร. ทราบ
5.11.2 การรายงานกรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติ ให้รายงานเหตุการณ์ให้หัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบจัดเวร และ ผอ.รพ.รร.จปร. ทราบ ด้วยเครื่องมือสื่อสารที่เร็วที่สุดแล้วเขียนรายงานเหตุการณ์ ในรายงานประจำวันโดยใช้ระเบียบ / ข้อปฏิบัติในการรายงานด่วน ของ ทบ. โดยอนุโลม
6. ตัวชี้วัด
- นขต.รพ.รร.จปร. ทุกหน่วยสามารถปฏิบัติตามระเบียบการจัดกำลังพลปฏิบัติงานนอกเวลาและวันหยุดราชการ ได้อย่างถูกต้อง 100 %
- อัตราข้อร้องเรียนของ นขต.รพ.รร.จปร. ของการจัดอัตรากำลังพลในการปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการ และวันหยุดราชการ น้อยกว่า 5%
7. เอกสารอ้างอิง
7.1 พ.ร.บ. วินัยทหาร พ.ศ.2476
7.2 คำสั่ง รพ.รร.จปร. ที่ 253/2553 ลง 14 มิ.ย.53 เรื่อง การปฏิบัติงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการบริการ และสนับสนุนการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ
8. ภาคผนวก
8.1 ภาคผนวก 1 เกณฑ์การพิจารณาดำเนินการกับกำลังพลที่ขาดเวร คลิกหน้าที่ 1 , 2
8.2 ภาคผนวก 2 แบบฟอร์มการแลกเปลี่ยนเวร ( FR-HRD-007)คลิก

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบปฏิบัติ เรื่อง : การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว รพ.รร.จปร.

วิธีปฏิบัติ : WP - HRD – 001
ระดับเอกสาร : ระเบียบปฏิบัติ
เรื่อง : การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว
วันที่อนุมัติใช้ : พ.ย.53
แก้ไขครั้งที่ : ……….วันที่ : …..……
หน่วยงาน : ทีมคณะกรรมการบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
ผู้จัดทำ : คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ผู้อนุมัติ : พ.อ.……………………….
( ธนา สุรารักษ์ )
1. วัตถุประสงค์
ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการสรรหา คัดเลือก และการบรรจุ
ลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรจุบุคลากรได้ตาม วัตถุประสงค์ เพียงพอ มีการพัฒนาศักยภาพ อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติงานในองค์กรอย่างมีความสุข
2. ขอบข่าย
ระเบียบปฏิบัติฉบับนี้ ครอบคลุมการสรรหา คัดเลือก และบรรจุลูกจ้างชั่วคราวของทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
3. คำนิยามศัพท์
3.1 การสรรหา หมายถึง กิจกรรมและหรือการปฏิบัติซึ่งกำหนดลักษณะที่ต้องการของผู้สมัคร สำหรับลักษณะงานหนึ่งงานใดที่หน่วยงานมีความประสงค์และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สรรหาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
3.2 การคัดเลือก หมายถึง กระบวนการพิจารณาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติและลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกิจกรรมจัดหาบุคลากรเพื่อเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิจารณาผู้สมัครที่มีความเหมาะสมอย่างที่สุดต่อความต้องการของหน่วยงาน ซึ่งกระทำกับผู้สมัครและหรือบุคคลที่โรงพยาบาลเห็นสมควรที่จะให้เข้าเป็นผู้สมัครเข้าคัดเลือกโดยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ
3.3 การบรรจุ หมายถึง ให้เข้าประจำตำแหน่งที่กำหนด
4. เอกสารอ้างอิง
4.1 ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2542
4.2 คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 797/28 ลง 16 ก.ย. 28 เรื่อง ลูกจ้างชั่วคราว
5. ความรับผิดชอบ
5.1 ฝ่ายบริหารโรงพยาบาล มีหน้าที่ ดังนี้
5.1.1 กำหนดนโยบายในการสรรหาคัดเลือกและการบรรจุบุคลากร
5.1.2 พิจารณาอนุมัติตำแหน่งและอนุมัติให้บรรจุบุคลากรที่ผ่านการคัดเลือก
5.2 คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ให้ข้อมูลข้อเสนอแนะ และร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาคัดเลือกบรรจุบุคลากรใหม่
5.3 หัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่ดังนี้
5.3.1 เสนอความต้องการบุคลากรที่หน่วยขาดแคลนและมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจของหน่วย
5.3.2 ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ และทักษะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน
5.3.3 ดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่
5.3.4 จัดทำแผนการฝึกปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่
5.3.5 ดำเนินการสอนงานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรใหม่
5.3.6 ทำการประเมินผลบุคลากรใหม่เมื่อปฏิบัติงานครบ 3 เดือน
5.3.7 จัดทำแฟ้มบุคลากร ทำการประเมินผลบุคลากรใหม่เมื่อทดลองงานครบ ๓ เดือน
5.4 คณะกรรมการคัดเลือก มีหน้าที่จัดเตรียมข้อสอบ ดำเนินการทดสอบและรายงานผลการทดสอบ
5.5 ฝ่ายกำลังพล มีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหาร การรับสมัคร ทำข้อมูลประวัติบุคลากร ทำสัญญาจ้าง รายงาน รร.จปร. ออกคำสั่งจ้าง และอื่นๆ
5.6 องค์กรแพทย์ องค์กรพยาบาล และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหน่วยงานในการดำเนินการฝึกอบรมในงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ และหรือตามมาตรฐานที่กำหนด
6. วิธีปฏิบัติ
6.1 การสรรหา คัดเลือกและการบรรจุบุคลากรใหม่ ดำเนินการ ดังนี้
6.1.1 การเสนอความต้องการ ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอความต้องการบุคลากรใหม่ โดยกำหนดคุณสมบัติตามที่ต้องการตามแบบฟอร์ม การเสนอความต้องการลูกจ้างชั่วคราว (FR-HRD-001) พร้อมกับแนบหน้าที่รับผิดชอบ (Job Description ) เสนอตามสายการบังคับบัญชาผ่านกองบังคับการ เสนอให้คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทราบ และให้ ผอ.รพ.รร.จปร. อนุมัติ
6.1.2 การรับสมัคร ฝ่ายกำลังพลจะเสนอร่างประกาศรับสมัครให้ ผอ.รพ.ฯ ลงนาม แล้วดำเนินการปิดประกาศและรับสมัคร จัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการรับสมัคร หลักฐานที่ใช้ในการสมัครตามที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัคร แล้วส่งข้อมูลให้คณะกรรมการคัดเลือก
6.1.3 การคัดเลือก ฝ่ายกำลังพลเสนอให้ ผอ.รพ.ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก อย่างน้อย 3 คน เป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 คน เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้วคณะกรรมการคัดเลือกจะดำเนินการออกข้อสอบ ดำเนินการคัดเลือกโดยวัดความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และบุคลิกภาพ นำเสนอผลการคัดเลือกให้ ผอ.รพ.ฯ อนุมัติ ประกาศผลการทดสอบ
6.1.4 การตรวจร่างกาย ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น โดย ฝกพ.รพ.รร.จปร. ส่งรายชื่อให้กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.รร.จปร. ดำเนินการตามแบบฟอร์มการส่งบุคลากรใหม่เข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น (FR-HRD-002) ซึ่งกองตรวจโรคผู้ป่วยนอกจะต้องตรวจสภาวะสุขภาพบุคลากรใหม่ ดังนี้
6.1.4.1 ตรวจเอ็กซเรย์ปอด เพื่อคัดกรองวัณโรคปอด
6.1.4.2 ตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HbsAg , Hbs Ab และ Hbc Ab เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
6.1.4.3 ตรวจหา Anti HIV
ค่าใช้จ่ายในการตรวจ ตามข้อ 6.1.4.1 -6.1.4.3 ให้เก็บจากผู้เข้ารับการตรวจ

6.1.4.4 ผลการตรวจร่างกายพบว่า Hbs Ag positives ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจร่างกายและหากไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตับอักเสบบี ต้องทำการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี จำนวน 3 เข็ม ๆละ 180 บาท รวม 540 บาท ให้ฝ่ายการเงินดำเนินการหักเงินค่าวัคซีนจากค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่ฉีดภูมิคุ้มกันและให้พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ รับผิดชอบกำหนดวัน และดำเนินการฉีดวัคซีนตามกำหนด จนกว่าจะครบ Course (๐ , ๑ , ๖ เดือน)
6.1.4.5 หากพบว่าผลเอ็กซเรย์ปอดผิดปกติ เป็นวัณโรคปอดและภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง (HIV) ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจร่างกายและแจ้งผลให้ทราบเพื่อให้ดำเนินการรักษาตามสิทธิต่อไป
6.1.4.6 ผลการตรวจร่างกาย ให้ส่งผลการตรวจร่างกายของบุคลากรใหม่ให้คณะกรรมการควบคุมโรคติดเชื้อ และ แผนกสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรของหน่วยต่อไป
6.1.5 การทำสัญญาจ้าง ผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายแล้วจะนัดวันทำสัญญาจ้างโดยดำเนินการดังนี้
6.1.5.1 ทำสัญญาจ้าง ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-003)
6.1.5.2 ทำสัญญาค้ำประกัน ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-004) ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือข้าราชการระดับ ซี 3 ขึ้นไป พร้อมเงินค้ำประกันเท่ากับเงินเดือนหรือตามที่ฝ่ายบริหารกำหนด
6.1.5.3 จัดทำประวัติบุคคล ตามแบบฟอร์ม (FR-HRD-005)
6.1.6 การปฐมนิเทศ คณะกรรมการบริหารพัฒนาทรัพยากรบุคคล จะดำเนินการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่เป็นส่วนรวมก่อน เนื้อหาในการปฐมนิเทศจะประกอบด้วย การปฏิบัติโดยทั่วไป โครงสร้างองค์กร สายการบังคับบัญชา สิทธิต่างๆ และระบบการสื่อสารภายในองค์กร เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะส่งตัวให้หน่วยงานซึ่งหน่วยจะต้องดำเนินการปฐมนิเทศในเรื่องการปฏิบัติและสอนงานในหน้าที่
6.1.7 การทดลองงานและการประเมินผล หน่วยงานจะต้องจัดทำแผนการฝึกปฏิบัติและกำหนดให้มีพี่เลี้ยงสอนงานให้กับบุคลากรใหม่ให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทดลองปฏิบัติงานงาน 3 เดือน แล้วทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแบบฟอร์ม การประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-006) หรือแบบประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-007) รายงานผลตามสายการบังคับบัญชาถึงคณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล หากไม่ผ่านการประเมินจะให้ฝึกปฏิบัติงานต่อเพิ่มอีก 2 เดือน เกณฑ์ผ่านการประเมินของบุคลากรใหม่ 60 % ผู้ไม่ผ่านการประเมินให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำแผนการพัฒนาและประเมินผลใหม่ภายใน 2 เดือน หากไม่ผ่านเกณฑ์ 60 % ให้เลิกจ้างฯ หากหน่วยมีความจำเป็นต้องการบุคลากรปฏิบัติงานทดแทนให้เสนอความต้องการบุคลากรใหม่ตามวงรอบการปฏิบัติต่อไป
7. ดัชนีชี้วัด
7.1 หน่วยสามารถบรรจุกำลังพลลูกจ้างชั่วคราวตรงตามความต้องการของหน่วย 100%
7.2 บุคลากรใหม่ของหน่วยได้รับการปฐมนิเทศ , ผ่าน การฝึกปฏิบัติงานและได้รับผลการทดลองปฏิบัติงาน 100%
8. ภาคผนวก
8.1 ขั้นตอนการสรรหาคัดเลือกและบรรจุลูกจ้างชั่วคราว
คลิก
8.2 แบบฟอร์ม การเสนอความต้องการลูกจ้างชั่วคราว (FR-HRD-001) คลิก
8.3 แบบฟอร์ม การส่งบุคลากรใหม่เข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น
(FR-HRD-002) คลิก
8.4 แบบฟอร์ม สัญญาจ้าง (FR-HRD-003) คลิก
8.5 แบบฟอร์ม สัญญาค้ำประกัน (FR-HRD-004) คลิก
8.6 แบบฟอร์ม ประวัติบุคคล (FR-HRD-005) คลิกหน้าที่1 , 2 , 3 , 4
8.7 แบบฟอร์ม การประเมินเจ้าหน้าที่ (FR-HRD-006) คลิก
8.8 หัวข้อการประเมินเจ้าหน้าที่ คลิกหน้า1 , 2 , 3